เมนู

เป็นต้น 1 มีอายตนะที่ 6 เป็นต้น 1 มีผัสสะเป็นต้น 1 มีเวทนาเป็นต้น 1
มีตัณหาเป็นต้น 1 มีอุปาทานเป็นต้น 1 ด้วยบทที่เป็นมูล 9 บท มีอวิชชา
เป็นต้น คือ โดยประเภทแห่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นาม อายตนะที่ 6
ผัสสะ เวทนา ตัณหา และอุปาทาน.
บรรดานัยทั้ง 9 เหล่านั้น นัยนี้ใดมีอวิชชาเป็นต้นก่อน ในนัยที่มี
อวิชชาเป็นต้นนั้นมีจตุกะ 4 คือ
ปัจจยจตุกะ หมวด 4 กำหนดด้วยปัจจัยธรรม
เหตุจตุกะ หมวด 4 กำหนดด้วยเหตุธรรม
สัมปยุตตจตุกะ หมวด 4 กำหนดด้วยสัมปยุตธรรม
อัญญมัญญจตุกะ หมวด 4 กำหนดด้วยอัญญมัญญธรรม.
แม้นัยที่เหลือก็เหมือนในนัยมีอวิชชานี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในแต่ละนัย
จึงรวมเป็น 36 จตุกะ ด้วยอำนาจแห่งจตุกะ 4. บรรดาจตุกะเหล่านั้น เพราะ
รวมวาระอย่างละ 4 ด้วยจตุกะแต่ละจตุกะ จึงเป็นวาระละ 16 ในแต่ละนัย
ด้วยอำนาจแห่งจตุกะทั้ง 4 ดังนั้น พึงทราบว่าเป็น 144 วาระแล.

ว่าด้วยปัจจยจตุกะ


บรรดาจตุกะทั้ง 4 นั้น ปัจจยจตุกะในนัยมีอวิชชาเป็นมูลก่อนกว่านัย
ทั้งหมดนี้ใด ในปัจจยจตุกะนั้น วาระที่หนึ่ง (บาลีข้อ 274) ชื่อว่า ทวาท-
สังคิกวาร
(วาระประกอบด้วยองค์ 12) ประกอบด้วยองค์สองไม่บริบูรณ์
เพราะตรัสนามไว้ในที่แห่งนามรูป และตรัสอายตนะที่ 6 ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ.
วาระที่ 2 (บาลีข้อ 275) ชื่อว่า เอกาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วย

องค์ 1 ) ซึ่งประกอบด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะตรัสนามอย่างเดียวในที่
แห่งนามรูป และไม่ตรัสองค์อะไร ๆ ในที่แห่งสฬายตนะ. วาระที่ 3 (บาลี
ข้อ 276) ชื่อว่า ทวาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ 12) ประกอบ
ด้วยองค์หนึ่งบริบูรณ์ เพราะตรัสอายตนะที่ 6 ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ แต่วาระ
ที่ มีองค์ 2 บริบูรณ์แล้วโดยแท้.
ในข้อนั้น หากมีข้อสงสัยว่า แม้วาระที่ 3 นี้ก็ประกอบด้วยองค์ที่ไม่
บริบูรณ์เหมือนกัน เพราะตรัสว่า ฉฏฺฐายตนปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิด
เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย) ดังนี้. ข้อนั้นขอเฉลยว่า มิใช่เป็นดังนั้น
เพราะอายตนะที่ 6 นั้นมิใช่เป็นองค์ ความจริง ผัสสะอย่างเดียวเป็นองค์ในวาระ
ที่ 3 นี้ มิใช่อายตนะที่ 6 เป็นองค์ เพราะฉะนั้น วาระที่ 3 นี้ มิใช่ประกอบ
ด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะอายตนะที่ 6 นั้น มิใช่เป็นองค์ฉะนี้แล. อนึ่ง
ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า วาระที่หนึ่ง พระองค์ทรงถือเอา ด้วยอรรถว่าทรง
รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ 2 ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าเป็นความต่างกัน
แห่งปัจจัย วาระที่ 3 ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ วาระที่ 4
ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะ อนึ่ง วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วย
อรรถว่าการรวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ 2 ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าความ
ต่างกันแห่งปัจจัย วาระที่ 3 ทรงถือเอาด้วยสามารถแห่งสัตว์มีอายตนะไม่
บริบูรณ์ วาระที่ 4 ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์มีอายตนะบริบูรณ์. อนึ่ง
วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วยอรรถว่ารวบรวมองค์ทั้งหมดนั่นแหละ วาระที่ 2
ทรงถือเอาด้วยอำนาจมหานิทานสูตร วาระที่ 3 ทรงถือเอาด้วยอำนาจรูปภพ
วาระที่ 4 ทรงถือเอาด้วยอำนาจกามภพ.

บรรดาวาระทั้ง เหล่านั้น วาระที่หนึ่ง ตรัสว่า สัพพสังคาหิกะ
(รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด) เพราะในวาระทั้ง 3 มีวาระที่ 2 เป็นต้นเหล่านั้น
จะไม่รวมเข้าไปในที่ไหน ๆ มิได้มี ความต่างกันแห่งวาระที่เหลือจักแจ่มแจ้ง
ข้างหน้า. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งวาระที่หนึ่งนั้น พึงทราบว่า
องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใดที่
ตรัสโดยประการอื่นและแม้องค์ปฏิจจสมุป-
บาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์ปฏิจจ-
สมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุป-
บาทใด โดยประการใด พึงเข้าไปกำหนด
องค์ทั้งหมดนั้นแล.

ในคาถานั้นมีนัย ดังต่อไปนี้:-
ว่าโดยความไม่ต่างกันก่อน ถามว่า บรรดาวาระทั้ง 4 เหล่านี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า สํขารา (สังขารทั้งหลาย) ดังนี้ เหมือนในสุตตัน-
ตภาชนีย์ แต่ตรัสว่า สํขาโร (สังขาร) ดังนี้นั้น เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะสังขารประกอบด้วยขณะแห่งจิตดวงเดียว จริงอยู่ใน
สุตตันตภาชนีย์นั้น ทรงจำแนกปัจจยาการอันเป็นไปในขณะแห่งจิตต่าง ๆ กัน
ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ ทรงปรารภปัจจยาการที่เป็นไปในขณะเดียวกัน ก็ในขณะ
แห่งจิตดวงเดียวกัน ย่อมไม่มีเจตนา (คือสังขาร) มาก จึงไม่ตรัสว่า สํขารา
(สังขารทั้งหลาย) แต่ตรัสว่า สํขาโร (สังขาร คือ เจตนา) ดังนี้.
อนึ่ง บรรดาวาระเหล่านี้ ในวาระที่หนึ่งทรงทิ้งรูปเสีย ตรัสว่า
วิญฺญาณปจฺจยา นามํ (นามเท่านั้นมีวิญญาณเป็นปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรง

รวบรวมธรรมที่นับเนื่องในขณะแห่งจิตดวงเดียว และเพราะเป็นธรรมสาธา-
รณะไปในที่ทุกสถาน จริงอยู่ นามธรรมนั้นนับเนื่องในขณะจิตดวงเดียวกัน
และเป็นธรรมสาธารณะไปในที่ทั้งหมด ย่อมไม่เป็นไปในฐานะแห่งความเป็นไป
ของวิญญาณ ในที่ไหน ๆ หามิได้ ก็เพราะวาระที่หนึ่งนี้ ผัสสะก็มีหนึ่งเท่านั้น
นับเนื่องเข้าในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อทรงถือเอาอายตนะที่เป็น
ปัจจัยอันสมควรแก้ผัสสะนั้น จึงตรัส มนายตนะดวงเดียวเท่านั้น ว่า นามปจฺ-
จยา ฉฏฺฐายตนํ
(อายตนะที่ 6 เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ไว้ในฐานะ.
แห่งสฬายตนะ เพราะว่ามนายตนะนั้น เป็นปัจจัยอันสมควรแก่ผัสสะที่เป็น
อกุศลดวงหนึ่ง และมนายตนะนี้ ก็ตรัสไว้แม้ในข้อนี้ว่า สงฺขารปจฺจยา
วิญฺญาณํ
(วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
เพื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งเหตุและผล และเพื่อครบองค์ จึงทรงถือเอาใน
ที่นี้อีก เพราะในสุตตันตภาชนีย์นั้น สังขารเป็นเหตุต่างกันแก่มนายตนะนี้
นามเป็นผลโดยไม่ต่างกัน แต่ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ นามเป็นเหตุโดยไม่ต่าง
กันแก่มนายตนะนี้ ผัสสะเป็นผลโดยต่างกันฉะนี้แล.
ส่วนธรรมทั้งหมดมี โสกะ เป็นต้น เพราะไม่เกิดในขณะแห่งจิต
ดวงเดียวกัน ไม่เป็นไปในฐานะ.แห่งจิตและในจิตทั้งหมด ฉะนั้นจึงไม่ทรง
ถือเอา แต่ชาติ ชรามรณะ แม้มีประมาณขณะแห่งจิตไม่ได้ ก็ทรงถือเอาเพื่อ
ครบองค์ (แห่งปัจจยาการ) เพราะผนวกเข้าภายในขณะจิต ในวาระที่หนึ่ง
องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ตรัสเคยประการอื่น และองค์ปฏิจจสมุปบาทใด ไม่
ตรัสไว้ พึงทราบองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น ด้วยประการฉะนี้ก่อน.
อนึ่ง ในวาระเหล่านี้ องค์ปฏิจจสมุปบาทใดที่ตรัสในวาระอื่นจากวาระ
ที่หนึ่งนี้ พึงทราบอรรถแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ

แต่ความต่างกันใด ๆ มาแล้วในวาระใด ๆ ข้าพเจ้าจักประกาศอรรถอันต่างกัน
นั้น ๆ ในวาระนั้น ๆ ทีเดียว.
ส่วนในข้อว่า องค์ปฏิจจสมุปบาทใดเป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจ-
สมุปบาทใด โดยประการใด
นี้ มีอธิบายว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
7 อย่าง คือ โดยปัจจัย 6 ปัจจัย มีสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ
อัตถิ และอวิคตปัจจัย อันทั่วไปแก่สัมปยุตตธรรม และด้วยเหตุปัจจัย.
บรรดาปัจจัยเหล่านั้นเพราะจตุกะ 3 มีเหตุจตุกะเป็นต้นข้างหน้า ตรัสไว้ด้วย
อำนาจอวิคตะ สัมปยุตตะ และอัญญมัญญปัจจัย ฉะนั้น ในปัจจยจตุกะนี้พึงนำ
ปัจจัยทั้ง 3 เหล่านั้น ออกแล้ว พึงทราบว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร 4
ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ.
สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ 8 อย่าง คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ
6 ปัจจัย และด้วยกัมมปัจจัย 1 อาหารปัจจัย 1 แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำ
3 ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก ก็พึงได้ปัจจัย 5 อย่าง.
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม 9 อย่าง คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ
ปัจจัย 6 อย่าง และด้วยอินทริยปัจจัย 1 อาหารปัจจัย 1 และอธิปติปัจจัย 1
แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำ 3 ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก คงได้ปัจจัย 6 อย่าง
นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6 โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ 6 อย่าง
ข้อว่า นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6 นี้ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอธิปติ-
ปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย เพราะฉะนั้น นามจึงเป็น
ปัจจัยได้หลายอย่าง แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำเอา 3 ปัจจัยเหล่านั้นแหละ
ออกแล้วคงได้ปัจจัย 3 อย่างบ้าง 4 อย่างบ้าง 5 อย่างบ้าง.

อายตนะที่ 6 เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ เหมือนวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม.
ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา 7 อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย 6 อย่าง และ
อาหารปัจจัย 1 แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำปัจจัย 3 เหล่านั้นแหละออก
คงได้ปัจจัย 4 อย่าง.
เวทนาเป็นปัจจัยแกตัณหา 8 อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย 6 อย่าง
ด้วยฌานปัจจัย 1 และอินทริยปัจจัย 1 แต่ในปัจจยจตุกะนี้พึงนำออก 3 ปัจจัย
เหล่านั้นแหละ คงได้ปัจจัย 5 อย่าง.
ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน เหมือนอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ 7 อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย 6 อย่าง และด้วย
มรรคปัจจัย 1 แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำปัจจัย 3 อย่างเหล่านั้นแหละออก
ก็ได้ปัจจัย อย่าง.
ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติด้วยอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นโดยปริยาย (อ้อม)
เพราะในคำว่า ชาติ นี้ ประสงค์เอาสังขตลักษณะ ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ
ด้วยอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียวเหมือนกัน.
ส่วนอาจารย์เหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า " ในจตุกะนี้ อวิชชาเป็นต้น
เป็นปัจจัยแก่สังขารเป็นต้นแม้ทั้งหมด ด้วยสหชาตปัจจัย เพราะวาระที่หนึ่ง
ทรงเริ่มด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเท่านั้น" อาจารย์เหล่านั้น อันใคร ๆ พึงแสดง
ความไม่มีแห่งภพเป็นต้นเหมือนอย่างนั้น และแสดงความเกิดขึ้นแห่งปัจจัย
ที่เหลือแล้วพึงปฏิเสธ เพราะภพมิได้เป็นสหชาตปัจจัยแก่ชาติ ชาติก็ไม่เป็น
สหชาตปัจจัยแก่ชรามรณะ ฝ่ายปัจจัยที่เหลือเหล่าใดตรัสไว้แก่สังขารเป็นต้น
เหล่านั้น ปัจจัยแม้เหล่านั้นมีอยู่โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจทิ้งเสีย.

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใด
ที่ตรัสไว้ โดยประการอื่น และแม่องค์
ปฏิจจสมุปบาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด
องค์ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์
ปฏิจจสมุปบาทใด โดยประการใด พึงทราบ
ว่าองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นปัจจัยแก่องค์
ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยประการนั้น
ดังนี้
ในวาระที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน.
แม้ในวาระที่ 2 เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ 2

(บาลีข้อ 274)
ส่วนความต่างกัน พึงทราบดังนี้
ถามว่า ในวาระที่ 2 ตรัสว่า นามปุจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิด
เพราะนามเป็นปัจจัย) มิได้ตรัสคำอะไร ๆ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะนั้น เพื่อ
อะไร ?
ตอบว่า เพื่อแสดงความต่างกันแห่งปัจจัย และเพื่อสงเคราะห์เข้าด้วย
เทศนาในมหานิทานสูตร.
จริงอยู่ ผัสสะหามีสฬายตนะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้
มีแม้ขันธ์ 3 มีเวทนาขันธ์เป็นต้นเป็นปัจจัยด้วยทีเดียว ก็ในมหานิทานสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิจจสมุปบาทมีองก์ 11 ทรงทิ้งสฬายตนะเสีย อย่างนี้ว่า